วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2


1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อกรจัดการ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management  Information Systems) หรือ MISหมายถึงระบบที่รวบรวมและจัด เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ
2. ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  มีความต่างกัน  คือ   ข้อมูล  หมายถึง   ข้อมูลดิบ (Raw Data)  ที่ถูกเก็บรวบ รวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้งาน  หรือ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
                สารสนเทศ หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ บริหาร
3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ        1.) ถูกต้อง
               2.) ทันเวลา
               3.) สอดคล้องกับงาน
               4.) สามารถตรวจสอบได้
4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ           1.) เข้าถึงสารสนเทศ
                   2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ
                   3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                   4. )ศึกษา และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                   5. )การวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรค
                   6.) ลดค่าใช้จ่าย
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง


ตอบ              1.) ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล

                      2.) ความปลอดภัยของข้อมูล

                      3.) ความยืดหยุ่น

                      4.) ความพอใจของผู้ใช้

6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ     มี 3 ระดับ  คือ  1. หัวหน้าระดับต้น
                                     2. ผู้จัดการระดับกลาง
                                     3. ผู้จัดการระดับสูง
7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับ
ปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับ
กลาง
ผู้จัดการระดับสูง
- ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
- มาก
-สรุปกว้าง ๆ
-สรุปชัดเจน
- การรายงานเหตุการณ์
- ที่เกิดขึ้นแล้ว
- เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
- อนาคต
- ความถูกต้องของสารสนเทศ
- สูง
- ปานกลาง
- ตามความเหมาะสม


8.ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ    1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
                2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตณ์

                3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ

                4.) มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ

                5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
                6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง

                7.) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน แก่ผู้ใช้อื่น

                8.) เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่ เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.) หน่วยวิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit)

2.) หน่วย เขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit)

3.) หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit)
10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
     ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
1.) หัวหน้าพนักงาน สารสนเทศ
2.) นักวิเคราะห์และ ออกแบบ

3.) ผู้เขียนชุดคำ สั่ง

            4.) ผู้ควบคุม เครื่องคอมพิวเตอร์

5.) ผู้จัดตารางเวลา

6.)  พนักงานจัดเก็บและรักษา

7.)  พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ ?
ตอบ เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวก็ จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใคร
12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยี 
ตอบ  ผลกระทบทางบวก
            1.) เพิ่มความสะดวก สบายในการสื่อสาร การบริการ และการผลิต เช่น ติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.) เกิดสังคมแห่ง การเรียนรู้
3.) มีระบบผู้เชี่ยว ชาญต่าง ๆ ในฐานข้อมูลความรู้
            4.) เทคโนโลยี สารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการหรือผู้ด้วยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
5.) พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบ ใหม่
6.) การทำงานเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดีขึ้น
7.) ผู้บริโภคได้รับ ประโยชน์จาการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น

        ผลกระทบทางลบ
1.) ก่อให้เกิดความ เครียดขึ้นในสังคม
            2.) ก่อให้เกิดการ รับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.) ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
4.) การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
5.) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
6.) เกิดช่องว่างทางสังคม
                  7.) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น
8.) อาชญากรรมบน เครือข่าย เช่น ปัญหาอาชญากรรม
9.) ก่อให้เกิดปัญหา ด้านสุขภาพ เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.  จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม  และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน  จัดการ  และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เราจะเห็นว่าความหมายดังกล่าวเป็นความหมายที่กว้างและไม่ได้กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน  เนื่องจากการพลวัตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วส่งผลให้เราไม่สามารถกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง  อย่างไรก็ดี  เราสามารถกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการดังต่อไปนี้
1.ระบบประมวลผล ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสานสนเทศที่หลากหลาย ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือไม่สะดวก ล่าช้า และอาจผิดพลาดได้
2.  ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
3.  การจัดการข้อมูล  ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบ  2 ประการแรก  แต่ผู้สนใจด้านการจัดการข้อมูล  (Data/Information  Management)  จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่  3  ซึ่งมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.  เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ตอบ   สาเหตุที่การจัดการข้อมูลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 
3.  หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
                ตอบ   หน่วยประมวลผลกลาง  (Central Processing Unit) หรือที่เรียกว่า “CPU” ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ โดยที่เราสามารถเปรียบเทียบ “CPU” กับสมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ   ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์   คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
4.  เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  ประเภทของคอมพิวเตอร์เราสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1.  ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและมีความเร็วสูง
2.  เมนเปรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำและระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีศักยภาพสูง และมีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนในเวลาที่รวดเร็ว
3มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงานสารสนเทศ สำหรับองค์การที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลในระดับปานกลาง
4.  ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะมีศักยภาพค่อนข้างต่ำ ทำให้ไม่สามารถนำไปประยุกต์ในงานทางธุรกิจที่ซับซ้อนและหลากหลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.  เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า “คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่เปลี่ยนแปลงโลก” และท่านเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่เห็นด้วย  เพราะ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในสังคมได้ เหมือนอย่างที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ถ้าขาดเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาสนับสนุน ปัจจุบันเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การได้ หลากหลาย ตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การวางแผนยุทธวิธีและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเทคโนโลยีสื่อสารจะช่วยเพิ่ม ผลิตและทางเลือกในการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล
6.  ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  ชุด คำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานที่ กำหนด
          ภาษา คอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร สารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น 
          มี ความสัมพันธ์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทำการเรียนรู้ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างดี
7.  ภาษายุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ  ภาษาในยุคที่ 4 จะ เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์
8.  จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ  การ สื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูล ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบ้าน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2555

  • ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ  เพื่ออะไร
ตอบ  เนื่องจากระบบสารสนเทศมีความจำเป็นมากในชีวิตประจำวัน  และในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ  โดยจะกระตุ้นให้เกิดการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ภายในสังคม  การแข่งขัน  ความร่วมมือมางธุรกิจ  ตลอดจนกิจกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคลให้แตกต่างจากอดีต  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้  ทักษะ  และความเข้าใจถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต