วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบบฝึกห้ดท้ายบทที่ 10 เรื่อง การจัดการความรู้

1. เพราะเหตุใดในปัจจุบันความรู้จึงมีความสำคัญกับองค์การ?
                ตอบ  ในสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) ความรู้ถือเป็นทัพยากรหลักที่มีค่าอย่างยิ่งซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา ซึ่งสภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการข่างขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจความรู้ ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้นแนวความคิดการจัดการความรู้ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์การทุกระดับ
2. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างข้อมูล ความรู้ และสารสนเทศ
                ตอบ  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่มีการประมวลผลแต่อย่างใด ข้อมูลอาจในรูปตัวเลขตัว อักษร ข้อความ ภาพ หรือเสียง
                                    สารสนเทศ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บ ประมวลผล และจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
                                    ความรู้ คือ สารสนเทศที่สามารถตีความ ทำความเข้าใจ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
3. ลำดับขั้นของความรู้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
                ตอบ  3.1 ข้อมูล
                      3.2 สารสนเทศ
                       3.3 ความรู้
                      3.4 ความชำนาญ
                     3.5 ความสามารถ
4. โมเดลการสร้างความรู้ (SEC) ประกอบด้วยกระบวนการอะไรบ้าง และแต่ละกระบวนการมีความแตกต่างกันอย่างไร?
                ตอบ   4.1 Socialization เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้โดยนัย จึงเป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนโดยไม่ผ่านการเขียน เกิดจาการแบ่งปันประสบการณ์เป็นหลัก
                           4.2 Externalizatico เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้โยนัยไปเป็นความรู้ที่ชัดเจน ขั้นตอนนี้นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการสร้างความรู้ เพราะเป็นขั้นที่มีความรู้โดยนัยถูกทำให้ชัดเจน โดยมีการถ่ายโอนความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้องค์การสามารถจัดเก็บและกระจายความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
                           4.3 Combination เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ชัดแจ้ง คือทำให้ความคิดต่างๆ เป็นระบบจนกลายเป็นความรู้ ความรู้ที่นำมารวบกันนั้นเกิดจาการแลกเปลี่ยนของบุคคลเป็นหลัก รวมกับความรู้ที่ผ่าสื่อหรือช่องทางความรู้ต่าง ๆ
                          4.4 Internalization เป็นกระบวนการของการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ชัดแจ้งไปเป็นความรู้โดยนัย โดยเกิดจากความรู้ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับ ทั้งที่เป็นความรู้โดยและความรู้ที่ความรู้ที่ชัดแจ้งและนำความรู้ดังกล่าวมาลงมือปฏิบัติ
5. เพราะเหตุใดองค์การปัจจุบันจึงเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้?
                ตอบ  เพราะองค์กรจะต้องมีความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
6. จงอธิบายความหมายของการจัดการความรู้
                ตอบ การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบที่องค์กรพัฒนาขึ้นเกี่ยวกับการแสวงหา การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอด และการใช้/ การแพร่กระจายความรู้ เพื่อพัฒนาได้องค์กรมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
7. กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง?
                ตอบ  กระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย 6 ส่วน
                  1. การสร้างความรู้ (Create)
                  2. การจัดและเก็บความรู้ (Capture/Store)
                  3. การเลือกหรือกรองความรู้( Refine)
                  4. การกระจายความรู้ (Distribute)
                  5. การใช้ความรู้ (Use)
                  6. การติดตาม/ตรวจสอบความรู้(Monitor)
8.ดังที่ Brain Quiun กล่าวไว้ว่า การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ ไม่ใช้เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร?
                ตอบ  เห็นด้วย เพราะเทคโนโลยีช่วยให้ระบวนการจัดการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้จะเป็นจริงไม่ได้หากไม่มีแหล่งข้อมูล หรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น ลำพังเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็ไม่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดสินค้า บริการ กระบวนการทำงาน และนวัตกรรมใหม่ได้ เพราะทั้งหมดนี้มีได้ขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสนับสนุน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่สิ่งรับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ความสำเร็จในการจัดการความรู้จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไมได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น