วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหารายงาน เรื่อง ระบบสารสนเทศทางการผลิต และการควบคุมสินค้าคงคลัง

http://word.office.live.com/wv/WordView.aspx?FBsrc=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fattachments%2Fdoc_preview.php%3Fmid%3Dmid.1361432010162%253A4b4e0c66c0d7647825%26id%3De51690c422396b693c972714dde885e4%26metadata&access_token=100002047308860%3AAQC_cYCxgFb7Yjn1&title=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%E0%B8%AD.%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2

แบบฝึกหัด


1.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS Subsystem) สามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้ตามหน้าที่ในองค์การเป็น 4 ระบบดังต่อไปนี้
     จงอธิบายแต่ละระบบมาพอเข้าใจพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

     1.1 ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System)

               ตอบ ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลัก โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ TPS มีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการดังนี้

             1. การทำบัญชี (Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละวันขององค์การ การปฏิบัติงานมักเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า และ ผู้ขายวัตถุดิบโดยที่องค์การต้องมีการลงบันทึกรายการสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้ามาเข้าร้าน
             2. การออกเอกสาร (Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวัน เช่น การออกใบรับส่งสินค้า การออกเช็ค ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
             3. การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกเอกสารต่างๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ เช่น การออกเช็คเงินเดือนของพนักงานแต่ละคน เป็นต้น

ตัวอย่างเช่นบริษัท Avon นำเทคนิคการป้อนข้อมูลแบบสแกนบาร์โค้ดสินค้าเพื่อลดความผิดพลาดของการคีย์ข้อมูลใบสั่งสินค้า ซึ่งทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น 76% ผลผลิตเพิ่มขึ้น 75% เวลาของการสั่งซื้อสินค้าลดลง 67% ลดต้นทุนลง 65%


      1.2 ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System)

               ตอบ ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือเรียกว่า MRS หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงานหรือเอกสาร สำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร

ตัวอย่างเช่น การกระทำพื้นฐานที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น การขายสินค้า การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าผ่านเครดิตการ์ดและการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง เป็นต้น


      1.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System)

               ตอบ -ใช้สำหรับประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง(unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
                       -ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อน
                       -ช่วยในการตัดสินในที่ต้องความรวดเร็วสูง

ตัวอย่างเช่น การส่งสินค้า เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่น ๆ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งปริมาณต่ำสุดในการสั่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการตัดสินของบริษัทซาน ไมเกล โดยใช้เกณฑ์ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ช่วยในการตัดสินใจในการบริหารงานของบริษัทซาน ไมเกล ได้มากขึ้นและยังช่วยในการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทซาน ไมเกล ในการจ้างพนักงานมาบริหารงานของบริษัท

 

      1.4 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System)

                 ตอบ เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน เช่น อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เพื่อใช้เกี่ยวกับงานประมวลผลคำ งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานส่งข่าวสารข้อมูลและอื่น ๆ เป็นระบบเกี่ยวกับการผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานโดยเกี่ยวข้องกับระบบ TPS และ MIS เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงาน บริหารในสำนักงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน
 
 
2. จงเปรียบเทียบระบบ TPSกับระบบ MIS และ DSS
               ตอบ
ลักษณะของระบบ
ระบบประมวลผลธุรกรรม(TPS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
(DSS)
1. วัตถุประสงค์หลัก
ควบคุมการปฎิบัติงาน
สนับสนุนการการบริหาร
จัดทำและประมวลสารสนเทศ
2. จุดเด่นของระบบ
รวบรวมและแสดงกิจกรรม
รวบรวมประมวลผลจากระบบและจัดทำรายงาน
จัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
3. ผู้ใช้ระบบ
นักปฎิบัติการ
องค์กร
บุคคล กลุ่มคน และองค์กร
4. ชนิดของปัญหา
มีโครงสร้าง
กึ่งมีโครงสร้าง
ไม่มีโครงสร้าง
5. แหล่งข้อมูล
เรียกสารสนเทศมาอ้างอิง
ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล
ใช้โมเดลในการวิเคราะห์
6. ความคล่องตัวของระบบ
สนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละส่วนให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย
ระบบจะพิมพ์รายงานออกมา ตามระยะเวลาที่กำหนดจะไม่ได้ตามที่ต้องการทันที่
onlineและrealtime
 
 
3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆอย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการบริการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาประเทศเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปัจจุบัน จงอธิบายผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
                ตอบ   ผลกระทบทางบวกคือ
      1. เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริหาร และการผลิต ทำให้ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน เป็นต้น
      2. เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง ทำให้มนุษย์ในสังคมสามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว
       3. มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์
       4. เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้
        5. พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน
        6. การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือ ช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร
        7. ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลาย และมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากขึ้น
                 ผลกระทบทางลบคือ
         1. ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเคยทำอะไรอยู่ก็มักชอบทำอย่างนั้น แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ บุคคล วิถีการดำเนินชีวิต และการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังวลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด
         2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่จากวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งไปสู่สังคมอีกสังคมหนึ่ง เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น
         3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านจารีตประเพณีและศีลธรรม แต่การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วเมื่อมีการแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ จะมีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ
         4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง กิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันมีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินกันเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกลโดยไม่ต้องเดินทาง
         5. เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
         6. เกิดช่องว่าทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีจำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้
         7. เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการใช้งานมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่นด้านการศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึงกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ
         8. อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆขึ้น เช่นปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปแบบของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
         9. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศีรษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

งานนำเสนอบทที่ 10 การจัดการความรู้


http://powerpoint.office.live.com/p/PowerPointView.aspx?FBsrc=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fattachments%2Fdoc_preview.php%3Fmid%3Dmid.1361432780458%253A22fb569d50d2dd3878%26id%3D218e8dc4e86fa56943ede4aced6c4b2f%26metadata&access_token=100002047308860%3AAQDvKgwZDh7vAJkT&title=%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2_%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%81%E0%B8%B2

กรณีศึกษา บริษัท Advance America กับการนำเทคโนโลยี Grid Computing มาใช้

http://powerpoint.office.live.com/p/PowerPointView.aspx?FBsrc=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fattachments%2Fdoc_preview.php%3Fmid%3Dmid.1361432723111%253A36695297bbda7b3d53%26id%3D55c787f7633168219f4e8919a4c36a9e%26metadata&access_token=100002047308860%3AAQBQb9f5r0B3RJlz&title=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93_%E0%B8%A8_%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 13 เรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1. จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
         ตอบ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์การ ในเรื่องของความทันสมัย และเป็นโอกาสที่ทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เพราะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้เร็วและเสียเวลาน้อย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง

2.  เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ในการช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่ง
         ตอบ  เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม และเพิ่มช่องทางให้กับธุรกิจ ซึ่งแฝงไปด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับผู้ประกอบการ

3.  ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
         ตอบ   เราสามารถแบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  4 ประเภท คือ  
                1.  ธุรกิจกับธุรกิจ
                2.  ธุรกิจกับผู้บริโภค
                3.  ธุรกิจกับรัฐบาล
                4.  ผู้บริโภคกับผู้บริโภค

4.  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
       ตอบ       1.  มีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                      2.  มีการตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
                      3.  การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                      4.  การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
                      5.  การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
                     6.  การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
                     7. โครงข่ายเศรษฐกิจ
                     8.  การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
 
5.  หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
             ตอบ  หลักการตลาด 6Ps ประกอบด้วย
                1. ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตรงตามความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย
                2. ราคา การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้า
                3. ช่องทางการจัดจำหน่าย การหาทำเลการค้าที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน
                4. การส่งเสริมการขาย กระบวนการที่จะทำให้ขายสินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า
                5. การรักษาความเป็นส่วนตัว คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต หรืออีเมล์
                6. การให้บริการแบบเจาะจง   เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตทำให้เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรมหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล

6.   จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
            ตอบ     ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                1. สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
                2. สามารถจัดหารสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่างๆ
                3. สามารถปรับลดปริมาณสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม
                4. สามารถเจรจากลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว
                5. สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ

7.  จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
             ตอบ      ข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                1. มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และระดับความน่าเชื่อถือต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มีความแน่นอน
                2. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารอาจยังไม่เหมาะสม
                3. โปรแกรมหรือซอฟแวร์แบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนบ่อย
                4. ต้นทุนในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างสูง
                5. ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัย
                6. ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน

8.  ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
               ตอบ      1.  ปัญหาในเรื่องของความพร้อมของผู้ประกอบการ
                             2.  ปัญหาในเรื่องของบุคลากรยังไม่มีความพร้อม
                             3.  ปัญหาในเรื่องของตลาด
                             4.  ขาดความเชื่อมั่นในผลตอบแทนที่จะได้รับ
                             5.  ปัญหาในเรื่องของความเชื่อมันในระบบรักษาความปลอดภัย
                             6.  ค่าบริการใช้อินเตอร์เน็ตและค่าบริการสื่อสารยังมีราคาแพง

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 12 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

1.  เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
                ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงานและทรัพยากรบุคคล ได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันขององค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่สอดรับกัน
               
2.  ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
                ตอบ  การ ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างและธำรงรักษาความได้เปรียบเสียเปรียบใน การแข่งขันขององค์การ ตลอดจนความสำคัญและบทบาทของผู้บริหาร ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถ นำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การดำเนินงานขององค์การ

3.  องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
             ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่า เป็นทรัพยากรที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว ธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค
4.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
              ตอบ  การดำเนินงานในระดับนี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โดยผู้บริหารต้องสนับสนุนให้องค์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน โดยเฉพาะในระดับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันทั้งองค์การ การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการสร้างความกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การ และกลยุทธ์

5.  ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐฯ
             ตอบ  ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้อมเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นถ้าผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย

6.  ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
               ตอบ  องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับ เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารใน ฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมี ความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา

7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูง ที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
              ตอบ   บริหารระบุความต้องการ สารสนเทศ ได้ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
                            1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
                           2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
                          3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ

8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ?
               ตอบ   เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย

9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร?
                 ตอบ       - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
                                - พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
                                -  พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด

10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ?
               ตอบ    เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 11 เรื่อง ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

1.  เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ  เพื่อการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

2.  จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
ตอบ        1.  กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2.  กำหนดแผนการสารสนทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
                3.  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล และระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
               4.   กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผลสูงสุดแก่องค์การ

3.  ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร?
ตอบ  รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ สารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้หรืการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิง คุณภาพ โดยระบบสารสนทศด้าน การบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1.  ระบบการบัญชีการเงิน (Financial Accounting System)
2.  ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System)

4.  ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง?
ตอบ        1.  การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
                2.  การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
                3.  การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของ ธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
                1.  การควบคุมภายใน (Internal Control)
                2.  การควบคุมภายนอก (External Control)

5.   ระบบย่อยของระบบสสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง?
ตอบ        1.  ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
                2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
                3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
                4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
                5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
                6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
                7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
                8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

6.  เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ        1.  การปฏิบัติงาน (Operations) เป็น ข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่าน มา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วย ในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแผนแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
                2.  การวิจัยตลาด (Marketing Research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรืบริการของ ธุรกิจ
                3.  คู่แข่ง (Competitor) คำกล่าวที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้งแสดง ความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม
                4.  กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) เป็น ข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
                5.  ข้อมูลจากภายนอก (External Data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ

7.  ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร?
ตอบ       1.  ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
                2.  ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
                3.  ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
                4.  ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
                5.  ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

8.  ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร?
ตอบ   เป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

9.   เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร?
ตอบ        1.  ความสามารถ (Capability)
                2.  การควบคุม (control )
                3.  ต้นทุน (Cost)
                4.  การติดต่อสื่อสาร ( communication )
                5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

10.  จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ตอบ    ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)หรือHRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system)หรือPIS เป็น ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ การ ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
                1.  ความสามารถ
                2.  การควบคุม
                3.  ต้นทุน
                4.  การติดต่อสื่อสาร
                5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน
                6.  การวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจโดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาดยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
                7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขันกำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
                8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคล ที่เป็นผู้ควบคุมสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้นปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน